Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • มองประวัติศาสตร์ ยุค “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” ผ่านพงศาวดาร สมเด็จพระพนรัตน์ฯ

มองประวัติศาสตร์ ยุค “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” ผ่านพงศาวดาร สมเด็จพระพนรัตน์ฯ

ละครเรื่อง “พรหมลิขิต” นอกจากจะพูดถึงประวัติศาสตร์อยุธยาในรัชสมัยของ “สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ” ผู้รับบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาอย่าง “พระเจ้าเสือ” แล้ว ยังมีการกล่าวถึงกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งครองราชย์ต่อจากพระเจ้าท้ายสระผู้เป็นพี่ อย่าง “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปราบปรามความไม่สงบ จนกรุงอังวะยอมสยบ และฟื้นฟูพุทธศาสนาในกรุงลังกา

มองประวัติศาสตร์ ยุค “พระเจ้าท้ายสระ” ผ่านพงศาวดาร สมเด็จพระพนรัตน์ฯ

"เจ้าฟ้าพร" หรือ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ" กษัตริย์ยุคชิงราชสมบัติ ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนา

ไล่เลียงลำดับ กษัตริย์อยุธยา “พระนารายณ์-พระเพทราชา” อยู่ในช่วงไหน?

ซึ่งในพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ มีการบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย โดย PPTV นิวมีเดีย จะเผยไทม์ไลน์รวมถึงมุมมองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของ “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” จากพงศาวดารฉบับนี้กัน!

สงครามชิงบัลลังก์

ขณะนั้น เกิดการสู้รบกันระหว่างเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ กับกรมพระราชวังบวรฯ (ตำแหน่งของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในขณะนั้น) โดยเจ้าฟ้าอภัย ได้ส่งทหาร 100 กว่านายเพื่อไปตีทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรฯ ฝ่ายทัพหลวงก็เตรียมทหารกว่า 200 นาย เข้าสู้

จนกระทั่งฝ่ายเจ้าฟ้าอภัยเสียท่า พ่ายแพ้ไป จึงหนีไปตั้งหลัก ก่อนที่พระธนบุรี ลูกน้องของเจ้าฟ้าอภัย จะอาสาส่งทหาร 500 นาย เข้าสู้อีกครั้งแต่ก็แพ้ ถูกแม่ทัพฝั่งวังหลวงตัดหัว เอาไปถวายกรมพระราชวังบวรฯ

เมื่อแพ้ติดต่อกัน เจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ ก็สะดุ้งกลัว จึงนำทรัพย์สินต่าง ๆ ขนลงเรือแล้วหนีไปทางป่าโมกยามค่ำคืน แต่ทางฝีพายไม่อยากตามไปด้วย จึงโดลงน้ำหนีตามกันไป ทำให้ลูกน้องของเจ้าฟ้าทั้งสองเหลือเพียงนายด้วงมหาดเล็กเท่านั้น พร้อมขึ้นฝั่งไปขอข้าวมาให้เจ้าฟ้าทั้งสองกิน เจ้าฟ้าอภัยเห็นว่านายด้วงมีความดีความชอบ จึงมอบแหวนให้

ต่อมา นายด้วงไปเยี่ยมมารดาที่บ้าน ขณะนั้น มีผู้พบว่านายด้วงมีแหวนประจำตำแหน่งเจ้าฟ้า จึงได้ไปแจ้งทางฝั่งวังหลวง กรมพระราชวังบวรฯ จึงมีคำสั่งให้ไปจับตัวมา เมื่อจับตัวมาได้แล้ว จึงมีรับสั่งให้จำคุก 2 ถึง 3 วัน ก่อนนำตัวไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามโบราณราชประเพณี

ก่อนที่ต่อมาในปีพ.ศ. 2276 เหล่ามหาเสนาบดีอำมาตย์ ได้ร่วมกันทำพิธีปราบดาภิเษกแก่กรมพระราชวังบวรฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่กัวบรมโกศ” พร้อมพระราชทานบำเน็จแก่ข้าหลวงในวังตามประเพณี พร้อมเลื่อนชั้นให้แก่ลูกหลาน รวมถึงพระญาติของพระองค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ให้แต่งตั้งเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ ไชยเชษฐสุริยวงษ์

พร้อมกันนี้ ยังกล่าวว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงตัดพ้อต่อพระบรมศพของพระเจ้าท้ายสระ ผู้เป็นพี่ว่า “เห็นแก่ผู้น้อยดีกว่าผู้ใหญ่ ให้ราชสมบัติแก่บุตร มิได้ให้แก่เรา ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ยาก คิดจะให้เอาศพทิ้งน้ำเสีย ไม่เผา ก็อายแก่คนทั้งปวง”

ใช้อุบายสำเร็จโทษเจ้าฟ้าแก้ว

หลังจากเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์สิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้าแก้ว ซึ่งเสด็จหนีตามเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ไปด้วยนั้นทรงเป็นฝ่ายเดียวกับเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ หลังจากพระองค์ถูกจับได้ กรมพระราชวังบวรฯ มีรับสั่งให้จำไว้ แล้วทรงคิดกลอุบายลับกับขุนชำนาญชาญณรงค์หมายจะใช้เป็นมูลเหตุแห่งการตัดสินลงพระอาญาพระองค์เจ้าแก้ว

โดยให้นำพระธำมรงค์ที่นายด้วงเอาไว้ซื้อข้าวไปฝังไว้ริมต้นยาง ริมบ้านเรือนของพระองค์เจ้าแก้วในเวลากลางคืน และตรัสให้หาออท้าวให้ทรงผีเพื่อค้นหาพระธำมรงค์วงที่ถูกฝังนั้นว่าอยู่ที่ใด ออท้าวก็ทรงผีจึงได้รู้เหตุแต่แกล้งทำอุบายแสดงมารยากริยาต่างๆ แล้วทายว่าพระธำมรงค์ที่หายไปนั้นจะได้คืนแต่ว่ามีคนเอาไปซ่อนไว้ที่ต้นไม้ใหญ่

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร) มีรับสั่งให้ข้าหลวงขุดหาเอาพระธำมรงค์ที่ริมต้นยางมาถวาย และโปรดให้ลูกขุนพิจารณาโทษพระองค์เจ้าแก้วโดยกล่าวว่าเป็นกบฏ จึงมีรับสั่งให้สำเร็จโทษพระองค์เจ้าแก้วให้สิ้นพระชนม์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

วังหน้าถูกปืนใหญ่ยิง

หลังจากพระองค์เจ้าแก้วถูกสำเร็จโทษ มีขุนนางจากกรมพระคชบาล คือ หมื่นราชสิทธิการ ได้เอาปืนใหญ่ขึ้นบนโรงช้างยิงเข้าไปในพระราชวังหน้า ระหว่างที่รบกันอยู่นั้น ลูกปืนไปถูกกิ่งสนหักลงเป็นเหตุให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร) ทราบมูลเหตุจึงทรงพระพิโรธ มึรับสั่งให้จับตัวหมื่นราชสิทธิการลงพระอาญาเฆี่ยน 50 ที ถามไถ่ได้ความว่าหมื่นราชสิทธิการคนนี้เป็นบุตรของปะขาวจันเพชรซึ่งพระองค์ทรงรู้จักกันอยู่มาแต่ก่อนจึงมีรับสั่งโปรดให้ไปตามตัวปะขาวจันเพชรมาสอบความ

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร) ได้ทรงฟังก็ตรัสชมว่าปะขาวจันเพชรผู้นี้เป็นผู้ใหญ่สัตย์ซื่อตรง ว่ากล่าวคำนั้นตามความจริง จึงตัดสินพระทัยไม่ลงพระอาญาแก่หมื่นราชสิทธิการแต่ให้ไปทำงานต่อสำเภาจนกว่าจะสิ้นโทษ ปะขาวจันเพชรได้ฟังก็ยินดียิ่งนักแล้วจึงถวายบังคมลา

เสด็จประพาสล้อมช้าง ณ เมืองลพบุรี

พ.ศ. 2277 ปีขาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดให้พระเจ้าหลานเธอ กรมหมื่นอินทรภักดี เจ้ากรมพระคชบาล พระราชนัดดาในสมเด็จพระเพทราชา กับเจ้าพระยากลาโหม (ปาน) เสนาบดีสมุหพระกลาโหม (เดิมคือ พระยาราชสงคราม (ปาน) สมุหนายกรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ให้ไปล้อมช้างที่เมืองลพบุรี

เมื่อถึงเดือนสิบ พระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินตามไปเร่งนายกองให้ต้อนสัตว์ทั้งมวลมายังค่ายพระตำหนักทะเลชุบศรทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเคยเสด็จมาล้อมช้าง แล้วพระองค์ก็เสด็จขึ้นพระตำหนักห้างคนยิงปืนตีม้าฬ่อฆ้องกลองจนฝูงสัตว์แตกตื่นวิ่งกระเจิงหนีออกมาจำนวนมาก จับฝูงช้างได้ราว 180 เชือก ส่วนอีก 300 เชือก โปรดให้ปล่อยกลับเข้าสู่ป่าไป

ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จประพาสล้อมช้าง ณ เมืองลพบุรีอยู่นั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดกบฏชาวจีนสมคบคิดปล้นพระราชวัง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเร่งเสด็จกลับไปยังพระนคร

กบฏจีนนายก่าย

แรม 10 ค่ำ เดือน 10 “จีนนายก่าย ณ กรุง” ชาวจีนผู้อาศัยอยู่ในอยุธยา รวมพรรคพวกประมาณ 300 เศษ เข้ายึดพระบรมหาราชวังในยามค่ำคืน หวังชิงบัลลังก์ ด้านพระยาเพชรพิไชย เจ้ากรมล้อมพระราชวัง พร้อมทหารรักษาพระองค์ เข้ารบพุ่งกับกองกำลังของจีนนายก่าย ล้มตายเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งพ่ายแพ้ไปในที่สุด โดยจับตัวต้นเหตุจำนวน 40 คนมาประหาร และอีก 280 คนลงพระราชอาญาเฆี่ยนแล้วจึงปล่อยให้พ้นโทษ

เดินทางสมโภช-สักการะหลายวัด ทำนุบำรุงพุทธศาสนา

ระหว่างปีพ.ศ. 2280 – 2285 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดหันตรา พร้อมถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองพิษณุโลก สักการะพระพุทธชินราช จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองพนมมาศ นมัสการพระแท่นศิลาอาษณ์ และพระมหาธาตุ จากนั้นเสด็จไปสักการะพระพุทธบาท สระบุรี และได้เสด็จไปบูรณะวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ขึ้นมาใหม่

กรุงกัมพูชานำช้างเผือกมาถวาย

นับตั้งแต่คราวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จประพาสล้อมช้างที่เมืองลพบุรีมาก่อนนั้นก็ยังไม่พบช้างเผือกเป็นที่พอพระทัย ว่าด้วยช้างเผือกเป็นสิ่งที่หายากต้องมากด้วยพระบารมีเท่านั้นจึงจะพบ แต่ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2277 ช้างเผือกปรากฏขึ้นที่กรุงกัมพูชา

พระแก้วฟ้า ผู้ครองกรุงกัมพูชาในขณะนั้น โปรดให้ข้าหลวงนำช้างเผือกตัวเมีย สูง 3 ศอก 7 นิ้วจากกรุงกัมพูชามาถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อช้างมาถึง โปรดให้ข้าหลวงกรมพระคชบาลออกไปรับ พระราชทานนามช้างเผือกว่า พระวิเชียรหัสดินทร์อรินทรเลิศฟ้า แล้วนำมาไว้ที่โรงช้างพระที่นั่งวิหารสมเด็จ

ถึง พ.ศ. 2284 ด้านเมืองนครศรีธรรมราช บ่าวพระปลัดไปโพน คล้องช้างพลายงามสูง 5 ศอก งายาว 5 นิ้วได้ เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ว่าที่โกษาธิบดีกรมพระคลังกราบทูลถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

จึงมีรับสั่งให้กรมพระคชบาลออกไปรับแล้วพระราชทานนามว่า พระบรมนาเคนทร ปรากฏช้างเนียมอีกเชือกหนึ่งได้จากเมืองไชยา พระราชทานนามว่า พระบรมวิไชย ได้ช้างจากเมืองนครศรีธรรมราชเพิ่มอีกเชือก พระราชทานนามว่า บรมจักรพาฬ และจากเมืองเพชรบุรีอีกเชือกจึงพระราชทานนามว่า บรมกุญชร รวมทั้งสิ้น 4 เชือก

 มองประวัติศาสตร์ ยุค “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” ผ่านพงศาวดาร สมเด็จพระพนรัตน์ฯ

เจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงอังวะ

เมื่อ พ.ศ. 2287 ปีชวด เมืองเมาะตะมะกับเมืองทวายเกิดเหตุวุ่นวายขึ้น มังนราจังซู เจ้าเมืองเมาะตะมะ และ แนงแลกแวซอยดอง เจ้าเมืองทวายอพยพครอบครัวและชาวเมืองรวม 300 คน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ขุนละคร กับ ขุนนรา นายด่านในขณะนั้นจึงพาไปให้แก่เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ แล้วพาเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพระมหากรุณาธิคุณรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคกับตราภูมิห้าม แล้วให้ปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัยแก่เจ้าเมืองทั้งสองรวมชาวเมืองให้อยู่ข้างวัดมณเฑียรในกรุงศรีอยุธยา ทรงตรัสถามมูลเหตุกับเจ้าเมืองทั้งสองนั้น

มังนราจังซูและแนงแลกแวซอยดองกราบทูลว่าหัวหน้ามอญชื่อ สมิงถ่อ กับ พระยาทะละ คิดกบฏต่อพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี กรุงอังวะ ได้เข้าปล้นยึดกรุงหงสาวดีแล้วสมิงถ่อจึงตั้งตนเป็นกษัตริย์ พระยาทะละจึงยกบุตรีของตนให้เป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงหงสาวดี มังนราจังซูและแนงแลกแวซอยดองจึงเกณฑ์ไพร่พลเมืองจากเมืองเมาะตะมะ ทวาย และเมืองกะลิออง เข้าตีเมืองหงสาวดีช่วยเหลือพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดีแต่ไม่สำเร็จจึงถูกฝ่ายพระเจ้ากรุงหงสาวดีตามสกัดจึงหนีมาพึ่งกรุงศรีอยุธยา

ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี แห่งกรุงอังวะ ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยานั้นทรงเป็นที่พึ่งแก่ชาวเมาะตะมะและทวาย ก็ทรงพระโสมนัสจึงทรงแต่งพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ ประกอบด้วย พานทองประดับ 1 คนโทน้ำครอบทอง 1 ผอบเมียงทอง 1 ขันทอง 1 พระภูษาทรงลายกงจักรริมแดง 1 ผ้าทรงพระมเหสีสำรับ 1 ผ้าลายมีลายโต ๆ ต่าง ๆ กัน เรือสารพิมานสำทรงลำ 1 กับน้ำมันดินและดินสอแก้ว ดินสอศิลา และสิ่งของอื่นๆ อีกจำนวนมาก

พร้อมโปรดให้ มังนันทจอสู และ มังนันทจอถาง เป็นราชทูตและอุปทูตแห่งกรุงอังวะนำความพระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ส่งสมณทูตฟื้นฟูศาสนาพุทธ ณ กรุงลังกา

สืบเนื่องจากพระพุทธศาสนาในศรีลังกาเสื่อมลงจากการล่าอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ พ.ศ. 2048 แม้ชาวดัทซ์กับชาวลังกาได้ช่วยขับไล่ชาวโปรตุเกสออกไปจนสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2201 แต่ชาวดัทซ์ได้เข้ามาครอบครองและเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโปเสตแตนต์ในศรีลังกา เมื่อพระเจ้าราชสิงห์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2124 แต่พระองค์ทรงหันไปนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะและทำลายพระพุทธศาสนาด้วยการเผาคัมภีร์และปราบพระสงฆ์จนหมดสิ้น

ถึงรัชสมัยพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะทรงจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงทราบจากพ่อค้าชาววิลันดาว่าพระพุทธศาสนาของกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้นเจริญรุ่งเรืองมากจึงแต่งคระราชทูตลังกาเชิญพระราชสาส์นมาขออาราธนาพระสงฆ์ของกรุงศรีอยุธยา แต่คระราชทูตลังกาไปติดค้างอยู่ที่เมืองปัตตาเวียจึงไม่ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

เมื่อ พ.ศ. 2293 รัชกาลพระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะ กรุงลังกา ทรงเลื่อมในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะ จึงมีพระราชสาส์นเขียนเป็นภาษาบาลี และเครื่องราชบรรณาการพร้อมส่งคณะราชทูต 5 คน ชื่อ อตปัตตุเว โมโหฏฏาละ, เวฑิกการะ โมโหฏฏาละ, อิริยคมะ ราละ, อยิตตาลิยัทเท ราละ, และวิละภาเคทะระ ราละ พร้อมผู้ติดตาม มายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขออาราธนาพระสงฆ์ของกรุงศรีอยุธยาไปอุปสมบทชาวลังกา เมื่อคณะราชทูตลังกาเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรี

แล้วยังทรงพาคณะราชทูตลังกาไปนมัสการรอยพระพุทธบาท พระพุทธไสยาศน์ วัดคังคาราม วิหารพระมงคลบพิตร และพระราชทานของบำเหน็จ หีบเงิน หีบทอง ของมีค่าต่างๆ อีกมากมาย

พร้อมกันนี้ ยังโปรดให้พระอุบาลีเถระเป็นหัวหน้า มีพระอริยมุนีกับคณะพระสงฆ์ 12 รูป เดินทางโดยเรือเดินสมุทรของชาวดัทซ์ไปศรีลังกาพร้อมด้วย พระมณฑป พระพุทธรูป รอยพระพุทธบาทจำลองวัดพระพุทธบาท หีบพระธรรม เครื่องราชบรรณาการ และพระราชสาส์น

คณะสมณทูตกรุงศรีอยุธยาเดินทางไปถึงลังกาสำเร็จได้พำนักที่วัดบุพพาราม กรุงแกนดี ได้ประกอบพิธีผูกสีมาแล้วอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกา สามเณรสรณังกร ที่อุปสมบทเมื่อคราวนั้นก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระสังฆราชแห่งลังกาทวีป จึงเกิดคณะสงฆ์อุบาลีวงศ์ (สยามวงศ์ หรือสยามนิกาย) ใช้เวลา 7 ปีเศษ ในการฟื้นฟูกระทั่งคณะสงฆ์อุบาลีวงศ์กลายเป็นพุทธศาสนนิกายที่ใหญ่ที่สุดในศรีลังกาอยู่จวบจนถึงปัจจุบัน

สิ้นสุดรัชสมัย

ในช่วงบั้นปลายรัชสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศบำเพ็ญพระราชกุศลอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2301 เดือนมิถุนายน เวลาค่ำปฐมยามเศษ (ราว 18.00 น.) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2301 สิริพระชนมายุ 78 พรรษา พระองค์อยู่ในราชสมบัติรวม 26 พรรษาถ้วน

เรียบเรียงจากพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ

ภาพจาก Wikipedia /พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ

พยากรณ์อากาศ “ฝนฟ้าคะนอง-ฝนตกหนัก” กทม.โดน 60% ของพื้นที่

ยิงปะทะ “เสี่ยแป้ง นาโหนด” บนเทือกเขาบรรทัด

เผยโฉม 86 สาวงาม ชิง Miss Universe 2023 เงื่อนไขใหม่สาวข้ามเพศ-แต่งงาน-มีลูก เข้าประกวดลุ้นมง